Phone: 03-312-4848 (ทร.74496)

Mobile : 093-397-1342

แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อุทยานใต้ทะเลเกาะขาม

Kohkham Clean Beach

Promotion Valentine's day 💖

โปรโมชั่นต้อนรับเทศกาลวันวาเลนไทน์ 
ลดราคาบัตรโดยสาร 50 บาท 
ระหว่างวันที่ 1 - 29 กุมภาพันธ์ 2567
หมายเหตุ : นักท่องเที่ยวชาวไทยหมู่คณะที่ได้รับการอนุมัติลดหย่อนค่าธรรมเนียมแล้ว จะไม่ได้รับการลดเพิ่มอีก

 

393127862 887967673336129 7507959332868662930 n

สาขาแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ
  อุทยานใต้ทะเลเกาะขาม 
 

397292912 898534282279468 2966131486612201235 n

เกาะขามขอเชิญชวนให้นักท่องเที่ยว งดนำถุงพลาสติกขึ้นบนเกาะขาม
เพื่อเป็นการรณรงค์ให้ผู้มาเยี่ยมชมได้ช่วยกันลดปริมาณขยะ เพื่อรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมบนเกาะให้สะอาด สวยงาม และยั่งยืน

1689972766105

Price infographic

อตราคาบรการ66

แผนผงเกาะขาม 01

Our Sceneries

banner Route

นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปเยี่ยมชมอุทยานใต้ทะเลเกาะขาม โดยใช้ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 331 ผ่านสี่แยกเกษมพล สี่แยกกม.10 (รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ) ตรงไปประมาณ 11 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายตรงอาคารพักผู้โดยสารเรือเฟอร์รี่ และเดินทางด้วยเรือโดยสาร ข้ามไปยังเกาะขาม


ดูแผนที่เส้นทางไปเกาะขาม

เกาะขามแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ในพื้นที่สัตหีบ ต้อนรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการมาท่องเที่ยว ดำน้ำชมปะการัง ชมพันธุ์ไม้ธรรมชาติตามเส้นทางท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บนเกาะขาม นอกจากนี้ยังมีหาดทรายสีขาวสะอาด ท้องทะเลสีเขียวใส เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้พักผ่อน

banner Information

  con address สำนักงานกิจการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อุทยานใต้ทะเลเกาะขาม ทัพเรือภาคที่ 1 ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จว.ชลบุรี 20180

  con fax โทรศัพท์03-312-4848  (เฉพาะวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.30 น. - 11.30 น. และ 13.00 น. - 16.30 น.)
  con mobileมือถือ : 093-397-1342 (เฉพาะวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.30 น. - 11.30 น. และ 13.00 น. - 16.30 น.)

ประเพณีทหารเรือ : การเคารพด้วยนกหวีดเรือ

pic navy whistle 02

นกหวีดเรือที่จ่ายามใช้ นั้น เป็นสิ่งที่เก่าแก่ที่สุดและเป็นเครื่องประดับของบุคคลผู้มีอาชีพในทางทะเลอย่างหนึ่ง นกหวีดเรือหรือขลุ่ยในสมัยโบราณซึ่งทาสในเรือแกลเลย์ของกรีซและโรมเป็นคนกระเชียงนี้น ใช้สำหรับการบอกจังหวะกระเชียง ตามรายงานปรากฏว่านกหวีดเรือได้ใช้ในสงครามครูเสดในปี พ.ศ.๑๗๙๑ เมื่อคนถือหน้าไม้ชาวอังกฤษถูกเรียกขึ้นมาบนดาดฟ้าเพื่อให้ทำการยิงตามสัญญาณ

pic navy whistleในสมัยหนึ่งนกหวีดเรือ ได้กลายเป็นเครื่องประดับสำหรับตำแหน่งราชการและในบางกรณีก็ใช้เป็นเครื่องประดับสำหรับเกียรติยศตามตำแหน่งด้วยเหมือนกัน จอมพลเรือมีนกหวีดทองคำผูกติดกับสร้อยห้อยคอ นกหวีดเรือทำด้วยเงินใช้สำหรับผู้บังคับบัญชาชั้นสูงสุดทั้งหลายเป็นเครื่องหมายสำหรับราชการ หรือห้อย นกหวีดเงินที่คอเพิ่มจากนกหวีดทองคำเกียรติยศอีกด้วย นกหวีดเรือในปัจจุบันใช้สำหรับการเคารพและสำหรับบอกคำสั่งแก่ทหาร


ในการรบที่นอกเมืองเบรสต์
เมื่อ ๒๕ เม.ย. พ.ศ.๒๐๕๖ ระหว่างเสอร์ เอดเวอร์ด โฮวาร์ด จอมพลเรือและบุตรเอิรล แห่งเชอร์เรย์ กับ เชอวาลีเอเปรตังต์ เดอ บีดูช์ เล่ากันว่า เมื่อจอมพลเรือแน่ใจว่าจะถูกจับเป็นเชลยแล้ว ท่านได้ขว้างนกหวีดทองคำลงทะเลไปแต่นกหวีดเงินซึ่งเป็นเครื่องหมายแห่งการบังคับบัญชายังคงซ่อนอยู่ในตัวท่าน น้ำหนักถือเป็นเกณฑ์ของนกหวีดเกียรติยศ และชื่อส่วนต่าง ๆ ของนกหวีดนั้นพระเจ้าเฮนรี่ที่ ๘ เป็นผู้ทรงตั้งขึ้น พระองค์ได้ออกกฤษฎีกาว่า นกหวีดจะต้องหนัก ๑๒ ฮูนส์ (Oons) ทองคำ ซึ่งคำว่าฮูนส์เป็นที่มาของคำว่า เอาช์ สร้อยที่ใช้ห้อยคอต้องทำด้วยทองคำเหมือนกันและจะต้องมีเนื้อทองของเหรียญดูกัต


นอกจากนกหวีดจะใช้เป็นเครื่องประดับ 
สำหรับตำแหน่งในทางการและสำหรับนายทหารใช้เมื่อออกคำสั่งเอง ยังใช้สำหรับการรับรองบุคคลชั้นสูงอีกด้วย การที่ทหารมาแถวที่ข้างกราบเรือ ตามที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ สืบเนื่องแต่กาลก่อนการเป่านกหวีดเรือเคารพพร้อมด้วยยามยืนรับรอง จึงกลายเป็นประเพณีสืบต่อกันมา ประเพณีในสมัยเรือใบนั้น ย่อมจัดให้มีการประชุมกันในเรือธง และเพื่อที่จะเชื้อเชิญนายทหารไปรับประทานอาการร่วมกันขณะที่เรือจอดอยู่ในทะเล ในเมื่อโอกาสอำนวยบางครั้งอากาศทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องชักผู้ที่เชิญมานั้นขึ้นทางเก้าอี้จ่ายาม โดยใช้นกหวีดเรือเป่าบอกเพลงชักขึ้นหรือหย่อนลงมา (หะเบส หรือ หะเรีย) เนื่องจากทหารประจำเรือต้องคอยชักคนขึ้นเรือนี้เอง และด้วยการที่เขามาร่วมกันข้างเรือ จึงทำให้เกิดประเพณีที่จะต้องมาคอยต้อนรับขึ้น ต่อมาก็เลยกลายเป็นมารยาทของชายเรือไปในอันที่จะต้องกระทำในราชนาวีอังกฤษเมื่อได้รับรายงานว่าผู้บังคับการเรือมาใกล้จะถึงเรือ นายยามจะออกคำสั่ง “Hoist him in” ซึ่งแปลว่า ชักเขาขึ้นมาบนเรือ

 

 

banner fish 04